วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

335. "น้ำท่วมกินผัก" : ในอนาคตอันใกล้ ชาวไทยจะอยู่เย็นเป็นสุข



โครงการ “น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
54 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก ถนนกรุงเทพกรีฑา  
แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ กทม. 10240
โทร. 086-367-4362, 089-214-0708  E-mail: phair_ru@hotmail.com  
Website: www.fcthai.com
 
 


       ในอนาคตอันใกล้  ชาวไทยจะอยู่เย็นเป็นสุข


โครงการน้ำท่วมกินผัก มองเห็นอนาคตของประเทศไทยอันใกล้  ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ดีขึ้นตามลำดับดังนี้:
1.                สุขภาพ+การศึกษาของประชาชน
2.                สิ่งแวดล้อม + ภัยธรรมชาติ
3.                เศรษฐกิจ + การเมือง
4.                ประเทศไทยใหม่ (มหาอำนาจใหม่)

รายละเอียดของแต่ละเรื่องมีดังนี้ :

1.                                     สุขภาพ + การศึกษาของประชาชน
ระบบการรักษาสุขภาพ, รักษาโรค  แบบเดิมที่ปฏิบัติกันอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ  เพราะการรักษาบางเรื่องยังไม่แก้ที่ต้นเหตุ  จึงเป็นเหตุให้มีคนป่วยเต็มบ้านเมือง  วิธีหลักๆในการแก้ปัญหาคือ
1.1    ศึกษาต้นเหตุของปัญหา, ต้องรู้กฎของธรรมชาติ, รู้การรักษาแบบองค์รวม, เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกายและใจ
1.2    ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกฎของธรรมชาติ (เมื่อรักษาจนหายป่วยแล้ว)
1.3    เมื่อดำเนินชีวิต (ตามข้อ 1.2 ) ไประยะหนึ่ง  สุขภาพจะดีขึ้นทั้งกายและใจเพียงทานอาหารสุขภาพ (เมนูอาหารต้านโรค) ติดต่อกัน 14 วัน (โดยพฤติกรรมอื่นคงเดิมเพื่อให้รู้ว่าสุขภาพเปลี่ยน เพราะเกิดจากอาหารอย่างเดียว)  จิตใจก็เริ่มจะเปลี่ยน  จิตจะสงบเยือกเย็นกว่าก่อน  มีสติแยกแยะสิ่งไหนดี/ไม่ดีต่อร่างกาย  เป็นต้น  เมื่อเราเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างอื่นด้วยเช่น   ออกกำลังกาย , พักผ่อน,   และฝึกจิต       สุขภาพเราก็จะยิ่งดี (วงจรจะเป็น      เปลี่ยนกาย      เปลี่ยนจิต       เปลี่ยนกาย       เปลี่ยนจิต ...อาจเข้าสู่สภาวะหลุดพ้นได้ถ้าปฏิบัติจริงจังต่อเนื่องเป็นเวลานานพอ)
1.4     สติปัญญา (ของประชาชน) โดยรวมจะดีขึ้น      การศึกษาจะดีขึ้น      ศีลธรรมจะมีมากขึ้น (เพราะเกิดจากปัญญาที่เห็นชอบ)     ความคิดสร้างสรรค์จะมีมากขึ้น ่  ทั้งอายุยืนเพราะสุขภาพดีและบวกความคิดสร้างสรรค์      ผลงานก็ทั้งดีทั้งมากขึ้น ประเทศเจริญขึ้น   มหาอำนาจใหม่ (ดูตัวอย่างประเทศอิสราเอล       เจริญเพราะต้องพัฒนาตนเองให้อยู่รอดพ้นจากความบีบคั้นของ ศัตรูรอบข้าง   และรวมทั้งสภาพภูมิประเทศอันกันดาร,   แต่ไทยพัฒนาจาก ปัญญาและความดี   ซึ่งจะนำสันติสุขมาสู่ประชาคมโลกอย่างแท้จริง)  กฎของธรรมชาติ   เลวร้ายถึงที่สุด   จะตีกลับเป็นดีที่สุดเช่นกัน      พลังหยินสุดๆตีกลับเป็นพลังหยางสุดๆ     พลังหยางสุดๆตีกลับเป็นพลังหยินเช่นกัน  (ดูรายละเอียดในข้อมูลโครงการฯของเรา)
1.5     ที่กล่าวมาข้างต้นประเทศของเราอาจดำเนินไปในทางตกต่ำลงอีกหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ชนิดถอนรากถอนโคน  เช่น ที่กล่าวมาข้างต้น

2.สิ่งแวดล้อม + ภัยธรรมชาติ
เกษตรเคมีจะเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์มากขึ้นๆจนเป็นทั้งประเทศ  ดังนั้นสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งสัตว์ต่างๆที่อาศัย  ก็จะมีสภาวะที่ดีขึ้นเป็นธรรมชาติมากขึ้น  ภัยธรรมชาติลดลง  เพราะจะมีการขุดบ่อเพื่อทำเกษตรอินทรีย์พอเพียงป้อนผลผลิตทำอาหารให้เป็นยา  บ่อน้ำทั่วประเทศจะทำหน้าที่เหมือนตุ่มกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี      ดังนั้นจะแก้ปัญหาน้ำแล้ง       ปริมาณน้ำที่เก็บได้โดยรวมทั่วประเทศประมาณ 4,500 - 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ในระดับหนึ่ง  ค่าใช้จ่ายในการขุดบ่อเอามาจากเงินที่ประหยัดได้จากค่ารักษาพยาบาลที่รัฐต้องจ่าย 275,000 ล้านบาท/ปี  นอกจากนี้จะมีการปลูกป่าไม้เบญจพรรณ  เลียนแบบป่าธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ประเทศไทยเคยมีอุดมสมบูรณ์ในอดีต (ป่าไม้ 70-80% ปัจจุบัน 30% กว่า) ซึ่งคงต้องใช้เวลา10-20 ปี ภาวะน้ำท่วมฉับพลันดินโคลนถล่มก็จะลดลง  การตัดไม้ทำลายป่าจะลดลงถ้าเราหางานให้ชาวบ้านมีรายได้ดีเช่น โฮมสเตย์, เมดิคอลฮับ, หรือสมัครเป็น  อสม  ทำอาหารเป็นยา  (เป็นหมอธรรมชาติบำบัด      โดยใช้ “อาหารต้านโรค” นำ)  ภาวะโลกร้อนก็จะดีขึ้น  เพราะเราไม่ขยายความเจริญทางวัตถุ (ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในบรรยากาศ)  แต่ส่งเสริมรายได้จากเกษตร, สาธารณสุข, ท่องเที่ยว, บริการ, ธุรกิจสร้างสรรค์, ธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยเป็นต้น  ให้มากขึ้นแทนอุตสาหกรรม, การส่งออก, ยานยนต์, ก่อสร้างโรงผลิตพลังงานจากวัตถุดิบ เช่น ถ่านหิน, น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ  ฯลฯ เพิ่มการปล่อย CO2

3.เศรษฐกิจ + การเมือง
            เศรษฐกิจ เราจะดีขึ้นแบบก้าวกระโดด เพราะ
3.1 ผลิตภาพมีคุณภาพสูงขึ้น เพราะประชาชนมีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งมีจำนวนสูงขึ้นด้วย  เพราะอายุยืนขึ้นแบบแข็งแรง
3.2 รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น จากการประหยัดค่ารักษาพยาบาลปีละ 275,000 ล้านบาท
3.3 ประชาชนโดยรวมมีรายได้มากขึ้น เช่น
- นักธรรมชาติบำบัด / อสม มีรายได้ 15,000 – 20,000 บาท/เดือน/คน
- เกษตรกรมีรายได้ 10,000บาท/เดือน/คน (ราคาขายเพิ่มเกือบเท่า)
- ประชาชน (โดยเฉพาะชาวบ้านในชุมชน)  จะมีรายได้จาก โฮมสเตย์/ลองสเตย์,  เมดิคอลฮับ, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ + วัฒนธรรม +รักษาระบบนิเวศ และครัวอาหารโลก  แทนนักธุรกิจมากขึ้น      เพราะเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ+มีความรู้ /ปัญญามากขึ้น ่  ฉลาดขึ้น  ต่างประเทศจะบินมาเมืองไทยมากขึ้น      นำเงินเข้ามามากมายจากกิจกรรมดังกล่าว   โดยเฉพาะเมื่อข่าวเรื่องอาหารต้านโรค+การรักษาแบบองค์รวม ่  ดังไปถึงเมืองนอกว่า ทั้งถูกและดีมีคุณภาพในการรักษาดีกว่าโรงพยาบาลในเมืองปัจจุบัน    ยกตัวอย่างอากาศในโรงพยาบาลมีแต่เชื้อโรค ในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่าหรือใกล้ป่า  อากาศดีต่างกันมาก  การหายป่วยจะ เร็วกว่าดีกว่าในโรงพยาบาลมากๆ
 3.4  ถ้าจะให้ดี  รายได้จากธุรกิจในประเทศควรจะเพิ่มเป็น 70%  และส่งออกเป็น 30% หรือน้อยกว่ายิ่งดี  เศรษฐกิจโลกเป็นอะไรไป เราก็ไม่เป็นไร   ดูตัวอย่างประเทศจีน ขณะนี้ก็เปลี่ยนนโยบายเป็นพึ่งรายได้จากในประเทศมากขึ้น  เพราะมีเสถียรภาพมากกว่าพึ่งส่งออก
3.5  ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่าง    เมืองกับชนบทดังกล่าวแล้วข้างต้น
3.6  เป็นแหล่งรองรับแรงงานตกงานจากวิกฤตเศรษฐกิจ    และภัยธรรมชาติ  เป็นกันชนอย่างดี เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีมีการปลดพนักงานๆ จะกลับบ้านนอกส่วนใหญ่  ซึ่งต้องพึ่งภาคเกษตร  แต่ก็มีปัญหาเพราะ ละทิ้งไปนาน  แต่โชคดีที่มีโครงการฯของเรารองรับ การรื้อฟื้นความรู้ประสบการณ์ในอดีตไม่ยากเกินไป  แต่ความพร้อมในการผลิต  อาจต้องมีการปรับปรุงเล็กน้อย ที่สำคัญมีตลาดรองรับอยู่แล้ว คือ อสม ทำ อาหารต้านโรค+ผู้ป่วยอยู่ทั่วประเทศ
3.7  ระบบทุนนิยม    ที่มุ่งเน้นกำไรเป็นเป้าหมายโดยไม่สนใจการทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, ระบบนิเวศ, มีความโลภ, เห็นแก่ตัวเป็นตัวนำ, ขาดศีลธรรม, จริยธรรม จะค่อยๆล่มสลาย  คนจะสนใจสินค้าที่ดูแลสิ่งแวดล้อม    เช่น   ผลิตผลการเกษตรอินทรีย์,  ปศุสัตว์อินทรีย์,  ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ฯลฯ มากขึ้นๆ  จนในที่สุด ระบบเศรษฐกิจ พอเพียงจะเข้ามาแทนที่  เช่น ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises) จะมีคนนิยมมากขึ้นเป็นต้น และท้ายสุดก็จะเป็นเศรษฐกิจที่มั่นคง/ยั่งยืนของมนุษย์ชาติจริงๆ แล้ว ระหว่างที่เศรษฐกิจปรับเปลี่ยนจากทุนนิยม ่  เศรษฐกิจพอเพียง    จะมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตไป ในทางที่ดีขึ้นด้วย ่  มีศีลธรรมมากขึ้น, คุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น, ผู้คนจะมีจิตใจโอบอ้อมอารีมากขึ้น ่  เหมือนในอดีตที่เราเคยเป็นมา สยามเมืองยิ้ม” 
                  
              การเมือง   เราจะดีขึ้นแน่นอน  เพราะประชาชนมีสุขภาพดี ่  ศีลธรรม  ่ ปัญญา ่  คุณธรรมดียิ่งขึ้น  กายดีส่งอิทธิพลใจดีตามดังอธิบายก่อนหน้านี้  ่  ฐานมวลชนดี ่ ผู้แทนดี ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ

4.ประเทศไทยใหม่ (มหาอำนาจใหม่)
ตามที่ได้บรรยายมาตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 3  จะสรุปได้สาระสำคัญดังนี้
4.1    เมื่อเรารักษากายให้หายป่วยมีสุขภาพดี รู้วิธีที่จะดูแลให้ตนเองมีสุขภาพดี  ตลอดไปอย่างยั่งยืน ก็จะ
4.2    กระทบจิตใจ  ให้เกิดการพัฒนาให้ดีขึ้นตามไป  ดังนั้นทั้งกายและใจดีขึ้น ่  สติปัญญาดีขึ้น  ่  มีศีลธรรมคุณธรรมมากขึ้น ่ คุณภาพประชากรดีขึ้น ่  ดังนั้น 
4.3    ผลผลิตของทั้งประเทศ รวมทั้งคนดี และมากขึ้น     สิ่งที่ตามมาก็คือ ประเทศไทยเจริญขึ้น ่  ประเทศไทยใหม่ ่  มหาอำนาจใหม่ครับ   (อาจเป็น ไทยเมืองยิ้ม แทนสยามเมืองยิ้มในอดีต)
                                        
      
ข้อมูลสนับสนุน                 
1.            Chemotherapy p.234-240
2.            ร.พ.บู๊เต็กพวด
3.            มหาอำนาจยุคใหม่




คำขวัญโครงการฯ

น้ำท่วมกินผัก     รักษาโรคได้
ไม่มีความเสี่ยง     เลี่ยงวิกฤตชาติ

 
 







วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

334. เปลี่ยนตัวเราเอง เพื่อโลกจะได้เป็นอย่างที่ควรเป็นได้

334. Let’s Change Ourselves so that the World Can Be As What It Could Be

Living Pathways:
Meditations on sustainable cultures and cosmologies in Asia
มรรคาที่มีชีวิค:
ตรึกคิดวัฒนธรรมที่ยั่งยืน และ จักรวาลวิทยาในเอเชีย

แนะนำ หนังสือใหม่ น่าอ่าน...

About the Book... ในหนังสือเล่มนี้... โดย M. Nadarajah

Globalisation and technological progress have ushered us into a new era of development. Never before has the promise of the ‘Good Life’ in a hedonistic, consumerist utopia, been within reach for so many. Yet a significant portion of humanity is still unable to meet their basic needs. These trends are unsustainable, and beg the question: Where are we heading as a global community… and at what cost?
โลกาภิวัตน์ และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ประคับประคองให้เราเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา.  ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่ว่า สัญญาของ “ชีวิตที่ดี” ในสรวงสวรรค์เสพสุขสุดๆ จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมของผู้คนมากมายเพียงนี้.  แต่มนุษยชาติส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานพอเพียงเพื่อยังชีพ.  แนวโน้มเหล่านี้ ชี้ให้เห็นความไม่ยั่งยืน, และตั้งคำถาม: ในฐานะประชาคมโลก พวกเรากำลังมุ่งหน้าไปทิศไหน...และด้วยต้นทุนเท่าไร?
In 2005, M. Nadarajah embarked on a journey into the heart of Asia to research culturally imbedded notions of sustainable development. He met with the indigenous communities of the Henanga, Ainu, Lanna, Karen, Kankanaey, Balinese and several others. These cultures reside far from the problems of mainstream development, both physically and spiritually. Their lifestyles incorporate philosophies of interconnectedness; of the sacredness of nature; of the continuity of Past, Present and Future. Rather than offer notions of sustainable development, these life-affirming philosophies pave a pathway towards a deep sustainability.
ในปี ๒๕๔๘, M. Nadarajah (ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย) ได้ออกเดินทางสู่ใจกลางเอเชีย เพื่อทำการศึกษาวิจัยความคิดเห็นที่ฝังตัวเชิงวัฒนธรรมในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน.  เขาได้พบกับชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมของ Henanga, Ainu, ลานนา, กระเหรี่ยง, Kankanaey, บาหลี และ อื่นๆ อีกมาก.  วัฒนธรรมเหล่านี้ อาศัยอยู่ไกลโพ้นจากปัญหาของการพัฒนากระแสหลัก, ทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ.  ลีลาชีวิตของพวกเขา ผสานปรัชญาของความเชื่อมโยงระหว่างกัน; ความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ; ความต่อเนื่องของ อดีต, ปัจจุบัน และ อนาคต.  แทนที่จะให้ความคิดเห็นของการพัฒนาที่ยั่งยืน, ปรัชญาที่ยืนยันรับรองคุณค่าชีวิตเหล่านี้ ได้ปูทางสู่ความยั่งยืนระดับลึก.
On this path, we find answers to how we must change as a society in order for us to preserve our world for all future generations. But do we have the collective will to overcome our consumptive habits and start living responsibly? Living Pathways offers its readers a chance to meditate upon these questions. It provides meaningful directions towards the spiritual paths of sustainable communities we often take for granted. Above all, it shows the reader a picture of the world we live in as it could be, if only we choose to make it so.
บนมรรคานี้, เราพบคำตอบว่า พวกเราจะต้องเปลี่ยนอย่างไร ในฐานะที่เป็นสังคมหนึ่งๆ เพื่อว่า พวกเราจะสามารถถนอมรักษาโลกของเราสำหรับอนุชนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตทั้งหมด.  แต่พวกเรามีปณิธานร่วมไหม ที่จะเอาชนะนิสัยมักบริโภคของพวกเราเอง และ เริ่มดำรงชีวิตด้วยความรับผิดชอบ?  มรรคาที่มีชีวิต ให้โอกาสผู้อ่านได้ตรึกคิดคำถามเหล่านี้  ด้วยการนำเสนอทิศทางที่มีความหมายสู่มรรคาจิตวิญญาณของชุมชนยั่งยืน ที่เรามักถือเบาและมองข้าม.  เหนือสิ่งอื่นใด, หนังสือนี้ได้แสดงให้ผู้อ่านเห็นภาพของโลกที่พวกเราอาศัยอยู่ อย่างที่มันควรเป็นได้, หากเพียงพวกเราเลือกที่จะทำให้มันเป็นเช่นนั้น.