วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

334. เปลี่ยนตัวเราเอง เพื่อโลกจะได้เป็นอย่างที่ควรเป็นได้

334. Let’s Change Ourselves so that the World Can Be As What It Could Be

Living Pathways:
Meditations on sustainable cultures and cosmologies in Asia
มรรคาที่มีชีวิค:
ตรึกคิดวัฒนธรรมที่ยั่งยืน และ จักรวาลวิทยาในเอเชีย

แนะนำ หนังสือใหม่ น่าอ่าน...

About the Book... ในหนังสือเล่มนี้... โดย M. Nadarajah

Globalisation and technological progress have ushered us into a new era of development. Never before has the promise of the ‘Good Life’ in a hedonistic, consumerist utopia, been within reach for so many. Yet a significant portion of humanity is still unable to meet their basic needs. These trends are unsustainable, and beg the question: Where are we heading as a global community… and at what cost?
โลกาภิวัตน์ และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ประคับประคองให้เราเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา.  ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่ว่า สัญญาของ “ชีวิตที่ดี” ในสรวงสวรรค์เสพสุขสุดๆ จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมของผู้คนมากมายเพียงนี้.  แต่มนุษยชาติส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานพอเพียงเพื่อยังชีพ.  แนวโน้มเหล่านี้ ชี้ให้เห็นความไม่ยั่งยืน, และตั้งคำถาม: ในฐานะประชาคมโลก พวกเรากำลังมุ่งหน้าไปทิศไหน...และด้วยต้นทุนเท่าไร?
In 2005, M. Nadarajah embarked on a journey into the heart of Asia to research culturally imbedded notions of sustainable development. He met with the indigenous communities of the Henanga, Ainu, Lanna, Karen, Kankanaey, Balinese and several others. These cultures reside far from the problems of mainstream development, both physically and spiritually. Their lifestyles incorporate philosophies of interconnectedness; of the sacredness of nature; of the continuity of Past, Present and Future. Rather than offer notions of sustainable development, these life-affirming philosophies pave a pathway towards a deep sustainability.
ในปี ๒๕๔๘, M. Nadarajah (ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย) ได้ออกเดินทางสู่ใจกลางเอเชีย เพื่อทำการศึกษาวิจัยความคิดเห็นที่ฝังตัวเชิงวัฒนธรรมในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน.  เขาได้พบกับชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมของ Henanga, Ainu, ลานนา, กระเหรี่ยง, Kankanaey, บาหลี และ อื่นๆ อีกมาก.  วัฒนธรรมเหล่านี้ อาศัยอยู่ไกลโพ้นจากปัญหาของการพัฒนากระแสหลัก, ทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ.  ลีลาชีวิตของพวกเขา ผสานปรัชญาของความเชื่อมโยงระหว่างกัน; ความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ; ความต่อเนื่องของ อดีต, ปัจจุบัน และ อนาคต.  แทนที่จะให้ความคิดเห็นของการพัฒนาที่ยั่งยืน, ปรัชญาที่ยืนยันรับรองคุณค่าชีวิตเหล่านี้ ได้ปูทางสู่ความยั่งยืนระดับลึก.
On this path, we find answers to how we must change as a society in order for us to preserve our world for all future generations. But do we have the collective will to overcome our consumptive habits and start living responsibly? Living Pathways offers its readers a chance to meditate upon these questions. It provides meaningful directions towards the spiritual paths of sustainable communities we often take for granted. Above all, it shows the reader a picture of the world we live in as it could be, if only we choose to make it so.
บนมรรคานี้, เราพบคำตอบว่า พวกเราจะต้องเปลี่ยนอย่างไร ในฐานะที่เป็นสังคมหนึ่งๆ เพื่อว่า พวกเราจะสามารถถนอมรักษาโลกของเราสำหรับอนุชนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตทั้งหมด.  แต่พวกเรามีปณิธานร่วมไหม ที่จะเอาชนะนิสัยมักบริโภคของพวกเราเอง และ เริ่มดำรงชีวิตด้วยความรับผิดชอบ?  มรรคาที่มีชีวิต ให้โอกาสผู้อ่านได้ตรึกคิดคำถามเหล่านี้  ด้วยการนำเสนอทิศทางที่มีความหมายสู่มรรคาจิตวิญญาณของชุมชนยั่งยืน ที่เรามักถือเบาและมองข้าม.  เหนือสิ่งอื่นใด, หนังสือนี้ได้แสดงให้ผู้อ่านเห็นภาพของโลกที่พวกเราอาศัยอยู่ อย่างที่มันควรเป็นได้, หากเพียงพวกเราเลือกที่จะทำให้มันเป็นเช่นนั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น