วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

336. ปฏิรูปตัวเองอย่างไร บนเส้นทางต่อสู้สู่โลกที่เป็นธรรม

336.  How To Reform My Self Along With My Struggle For A Just World

Ten Principles to Guide the Young Activist
บัญญัติ ๑๐ ประการ สำหรับนักสู้หนุ่มสาวเพื่อสังคม
แรมซี บาราวด์
'They say people who live for a higher cause are happier than those who don’t.' (Photo: Flickr / Chad Davis)
“กล่าวกันว่า คนที่มีชีวิตอยู่เพื่อเหตุที่สูงส่งกว่า มีความสุขมากกว่าพวกที่ไม่เป็นเช่นนั้น”

In a recent radio interview with a National Public Radio affiliate in Juneau, Alaska, I was asked if I had advice for a 16-year-old Palestinian student, Haitham. He had just arrived in the US as part of a school exchange program, and, admirably began reaching out to his peers in his and other schools to teach them about Palestine, its people and its ongoing struggle for freedom and rights.
ในการสัมภาษณ์ทางวิทยุกับวิทยุประชาชนแห่งชาติ (National Public Radio, NPR) ในจูนิว, อลาสกา, ผมถูกตั้งคำถามว่า หากผมต้องให้คำแนะนำแก่นักเรียนชาวปาเลสไตน์อายุ ๑๖ ปี ชื่อ ไฮธาม, ซึ่งเพิ่งมาสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกมแลกเปลี่ยนของโรงเรียน, และ, ด้วยความรู้สึกที่ประทับใจ เขาได้เริ่มยื่นมือออกไปหาเพื่อนๆ ในโรงเรียนของเขา และ อื่นๆ เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับปาเลสไตน์, ประชาชน และ การดิ้นรนต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิ์และเสรีภาพ.
There was not enough time to convey much to Haitham, whose voice expressed the personality of a gentle, smart and driven young man. And since I have been asked that question on more than one occasion, mostly coming from young people in Palestine, here are a few thoughts that are an outcome of my own experiences, and nothing else.
เวลาไม่มากพอที่จะพูดกับไฮธาม, ซึ่งฟังจากเสียง แสดงให้เห็นถึงบุคลิกที่อ่อนโยน, ฉลาด และ ทะเยอทะยานประสาคนหนุ่ม.  และเนื่องจากผมเคยถูกตั้งคำถามเช่นนั้นมามากกว่าครั้งหนึ่งแล้ว, ส่วนมากมาจากคนหนุ่มสาวในปาเลสไตน์, ต่อไปนี้ เป็นข้อคิดบางประการที่เป็นผลลัพธ์จากประสบการณ์ของผมเอง, เท่านั้น.
Beat your ego to a pulp. “Ego” is Latin for “I”, but its implications are common to every language. If an activist doesn’t learn to control his ego, he is likely to suffer numerous consequences, and perhaps ultimately fail in his mission. An activist, especially one who represents causes deemed ‘controversial’, will find himself under repeated attacks and unwarranted accusations targeting his ‘self’ not his ideas. And while there are those who will try to thrash your confidence, there are also those who will hail your perceived success and heroism even. Both are dangerous to the ego, for they could upset the balance necessary to keep us focused and involved as members of a larger community, and moral in our behavior and conduct.
ทุบอีโก้/อัตตา ของคุณเองให้แหลกยุ่ยเป็นผุยผง.  “อีโก้” ในภาษาลาติน คือ “ฉัน”, แต่ความหมายของมัน เหมือนๆ กันในทุกๆ ภาษา.  หากนักกิจกรรมคนหนึ่งไม่ได้เรียนรู้การควบคุมอีโก้ของตนเอง, เขาก็จะต้องได้รับความทุกข์ทรมานมากมาย, และอาจถึงกับเลิกล้มพันธกิจที่ตั้งใจ.  นักกิจกรรม, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เป็นตัวแทนของเหตุต่างๆ ที่ถูกมองว่า “มีความขัดแย้งในตัว”, จะพบว่า ตนเองถูกโจมตีซ้ำแล้วซ้ำอีก และ ถูกกล่าวร้ายป้ายสีที่พุ่งทำลาย “ตัวเขา” ไม่ใช่ที่ความคิดของเขา.  และในขณะที่มีพวกที่พยายามถาโถมฟาดฟันความมั่นใจในตัวเองของคุณ, ก็จะมีพวกที่ยกย่องสรรเสริญความสำเร็จ และแม้กระทั่งวีรกรรมในสายตาของคุณ.  ทั้งสองอย่างเป็นอันตรายต่ออีโก้, เพราะมันทำให้เสียความสมดุลอันจำเป็นยิ่ง เพื่อเอื้อให้เราเพ่งสติ/สำรวม และ มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกของชุมชนที่ใหญ่กว่า, และรักษาจริยธรรมในพฤติกรรม กิจวัตรของเราเอง.
Define and internalize your message. It is easy to get pulled into all sorts of directions that may separate you from your original mission. To ensure that you will always find your way back, you must be clear on what you stand for and why. Thus it is essential that you define your cause, first and foremost to yourself before you present it to others. Internalize it as an enduring part of your character before you stand in front of a crowd, hold a microphone, or carry a banner. If you are not fully convinced of your message, you will not be able to influence others.
นิยามสาระสาส์นของคุณและทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณเอง.  มันง่ายที่จะถูกลากดึงไปตามทิศต่างๆ ที่อาจแยกคุณให้ไปไกลห่างจากพันธกิจแรกเริ่มของคุณเอง.  เพื่อให้แน่ใจว่า คุณจะหาทางกลับมาได้เสมอ, คุณจะต้องชัดเจนว่า จุดยืนของคุณคืออะไร และ ทำไม.  ดังนั้น จึงจำเป็นที่คุณจะต้องให้คำจำกัดความกับเหตุที่คุณต่อสู้, เป็นอันดับแรก และ สำคัญที่สุด กับตัวคุณเอง ก่อนที่คุณจะนำเสนอต่อผู้อื่น.   การเชื่อสาระสาส์นของตัวคุณเองจนเป็นส่วนหนึ่งที่ถาวรในบุคลิกของคุณเอง ก่อนที่คุณจะยืนขึ้นต่อหน้าฝูงชน, จับไมโครโฟน, หรือ แม้แต่ถือแผ่นป้าย.  หากคุณยังไม่เชื่อสาระสาส์นของตัวเองเต็มที่, คุณจะไม่มีทางสร้างอิทธิพลเหนือคนอื่นๆ.
Be guided by universal values and human rights. Even if your message pertains to a local cause, find the universal aspect of your drive to bring about change, and embrace it. “Injustice anywhere is a threat to justice everywhere,” said Martin Luther King Jr. If you adhere to this notion alone, you know that you will remain true, not just to your cause, but to the underlying values that give it meaning. Universal human rights can always serve as a gage by which you can assess matters within a larger moral framework.
จงให้ค่านิยสากล/จักรวาบ และ สิทธิมนุษยชน เป็นเครื่องนำทาง.  แม้ว่าสาระสาส์นของคุณ จะเป็นเหตุในท้องถิ่น, จงค้นหาด้านที่เป็นสากลของแรงขับในตัวคุณที่ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลง, และโอบมันผนวกเข้ามา.  “ความอยุติธรรมที่ไหนๆ เป็นภัยคุกคามความยุติธรรมทุกที่,” มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, จูเนียร์, กล่าว.  หากคุณยึดมั่นในความคิดนี้ประการเดียว, คุณรู้ว่า คุณจะคงความจริงนี้ได้, ไม่เพียงแต่ต่อเหตุของคุณ, แต่ต่อค่านิยม/คุณค่าที่รองรับเหตุนั้นๆ ที่ทำให้มันมีความหมาย.  สิทธิมนุษยชนสากล ทำหน้าที่เป็นหลักเกณฑ์ที่คุณสามารถใช้ประเมินสิ่งต่างๆ ภายในกรอบศีลธรรมที่ใหญ่กว่า.
Find a frame of reference – relate to your audience. The onus is not on your audience to relate to you as much as it is on you to relate to their frame of reference: their history, their political reality and other dynamics that operate within and control their society. Only then, can you tailor your words and expectations – but never the morality of your message – in ways that they may understand, relate to, and act upon.
จงหากรอบการอ้างอิง—ที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังของคุณ.  ภาระหนักไม่ควรตกอยู่ที่ผู้ฟังของคุณ ในการหาทางเกี่ยวโยงกับคุณ มากเท่ากับที่คุณจะต้องหาทางเกี่ยวโยงกับกรอบอ้างอิงของพวกเขา: ประวัติศาสตร์ของพวกเขา, สภาพการเมืองตามจริงของพวกเขา และ พลวัตอื่นๆ ที่ทำงานอยู่ภายในและควบคุมสังคมของพวกเขา.  ผ่านจุดนี้ได้, คุณจึงจะสามารถสรรหาถ้อยคำและตั้งความคาดหวัง—แต่ไม่ใช่ศีลธรรมของสาระสาส์นของคุณ—ในลักษณะที่พวกเขาอาจเข้าใจได้, เกี่ยวโยง และ ปฏิบัติได้.
Humanize – But don’t sanctify your subject.  It doesn’t matter how worthy a cause is, if it is too distant or disconnected from people. It is essential that you allow your audience the chance to relate to your cause as that of people, with names and stories, beautiful, inspiring, but also disheartening and complex. But it is important that you don’t provide a sanctified, thus unrealistic narrative either, for your audience will disown you and question your credibility. Humanize your subject, but remain truthful in your presentation.
มีความเป็นคน—แต่อย่าทำให้เรื่องของคุณกลายเป็นลัทธิ.  มันไม่สำคัญว่า เหตุของคุณมีคุณค่ามากแค่ไหน, หากประชาชนรู้สึกเหินห่าง หรือ ต่อเชื่อมไม่ถึง.  เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่คุณยอมให้ผู้ฟังของคุณมีโอกาสสร้างสัมพันธ์กับเหตุของคุณ ในฐานะเป็นคน, มีชื่อและนิทาน, งดงาม, ดลใจ, แต่ก็น่าสังเวช และ ซับซ้อน.  แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญด้วย ที่คุณจะไม่สร้างเรื่อง สร้างภาพแบบลัทธิศาสนา, ที่ไม่เป็นจริง, เพราะผู้ฟังของคนจะโยนคุณทิ้ง และ เลิกเชื่อถือคุณ.  ทำเรื่องของคุณให้มีชีวิต, แต่จงซื่อตรง ตั้งอยู่ในความเป็นจริงเสมอในการนำเสนอของคุณ.
Be educated, strive for intellect and be wary of ideology. Education will give you access to otherwise inaccessible platforms. It will empower you and your message with the articulation you need to widen your circle of support. But you are also an intellectual. The right education could further develop your intellect. And when it is done with sincerity, both education and intellect will feed on one another. While there is no harm in adhering to an ideology that you may perceive to hold the answers to the dilemmas with which you contend, be wary of becoming an ideologue, a slave to stubborn dogmas. That will stifle your intellect and will make your education a mere platform to serve unworthy, elitist causes.
ขวนขวายหาความรู้ใส่ตัว, แสวงหาปัญญา และ ระมัดระวังอุดมการณ์.  การศึกษาขวนขวายหาความรู้จะทำให้คุณเข้าถึงเวทีต่างๆ ที่ไม่เช่นนั้นก็เข้าไม่ถึง.  มันจะช่วยเสริมสร้างพลังคุณและสาระสาส์นของคุณด้วนวาทกรรมที่คุณจำเป็นต้องใช้ เพื่อขยายวงการสนับสนุนคุณ.  แต่คุณเองก็เป็นปัญญาชนคนหนึ่งเช่นกัน.  การศึกษาที่ถูกต้องจะช่วยต่อยอดภูมิปัญญาของคุณ.  และเมื่อคุณทำด้วยความจริงใจ, ทั้งการศึกษาและปัญญาจะส่งเสริมหล่อเลี้ยงกันและกัน.  ในขณะที่ไม่เป็นไรในการยึดติดอยู่กับอุดมการณ์หนึ่งๆ ที่คุณอาจเห็นว่า ให้คำตอบต่อปัญหาทางสองแพร่งที่คุณกำลังต่อสู้, จงระวังตัวไม่ให้กลายเป็นนักอุดมการณ์, ผู้เป็นทาสของหลักการหัวรั้น.  นั่นจะบีบปัญญาของคุณ และ จะทำให้การศึกษาของคุณ เป็นเพียงฐานเพื่อรับใช้เหตุของพวกชั้นหัวกะทิไร้ค่า.
Keep an open mind. No matter how powerful your argument may seem, how high your education and how insurmountable your intellect is, remain humble and open-minded. If you close your mind, it will cease to grow. Your ideas will eventually become outdated, and your ability to imagine a world beyond your own will wither and die under the weight of your own sense of self-importance.
เปิดใจ.  ไม่ว่าคำโต้เถียงของคุณจะดูทรงพลังแค่ไหน, การศึกษาของคุณจะสูงแค่ไหน และ ปัญญาของคุณจะเฉียบแหลมแค่ไหน, จงธำรงความถ่อมตนและเปิดใจ.  หากคุณปิดใจ, จิตใจของคุณก็จะหยุดเติบโต.  ความคิดของคุณ ในที่สุด ก็จะล้าสมัย, และ ความสามารถที่จะจินตนาการโลกที่เหนือกว่าของคุณเอง ก็จะเหี่ยวเฉาและตายไป ภายใต้น้ำหนักของความคิดว่าตัวเองสำคัญ.
Have an action plan. It is not enough that you want to change the world. Sure, do that, but you must have a clear notion of what that actually means, and how you wish to bring it about. Such a roadmap can always help you reexamine your work and reassess your actions, and, if ever necessary, alter or entirely change your direction.
มีแผนปฏิบัติการไว้.  มันไม่พอเพียงว่าคุณต้องการเปลี่ยนโลก.  แน่นอน, ทำเลย, แต่คุณจะต้องมีความคิดที่ชัดเจนว่า แท้จริง มันหมายถึงอะไร. และคุณหวังว่าจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร.  แผนที่เดินทางเช่นนี้ สามารถช่วยให้คุณหวนกลับมาตรวจสอบงานของคุณและประเมินปฏิบัติการของคุณเสมอ, และ, หากจำเป็น, แก้ไข หรือ เปลี่ยนทิศทางทั้งหมดได้.
Don’t get swayed by success. The fight for justice is unending, as is the struggle against racism, and inequality. So ‘success’ in this context, by definition is relative. While you must acknowledge, even celebrate achievements along the way, let ‘success’ be a milestone towards another goal, and not an end in itself. This way you can always keep moving forward, with a vision that passes the immediate goal, on to a greater one, where the ‘rendezvous of victory’ is an idea, so coveted, yet unattainable.
อย่ากวัดแกว่งไปกับความสำเร็จ.  การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมไม่มีวันจบ, เช่นเดียวกับการดิ้นรนต่อสู้การเหยียดเชื้อชาติ, และ ความไม่เสมอภาค.  ดังนั้น “ความสำเร็จ” ในบริบทนี้, ด้วยคำจำกัดความ เป็นปฏิสัมพันธ์.  ในขณะที่คุณจะต้องยอมรับ, แม้แต่ฉลองความสำเร็จไปด้วยในระหว่างทาง, จงให้ “ความสำเร็จ” เป็นหลักกิโลเมตร สู่เป้าหมายต่อไป, และไม่ใช่จุดจบในตัวของมันเอง.  ด้วยวิธีนี้ คุณจะมุ่งหน้าเดินต่อไป, ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองผ่านเป้าหมายเฉพาะหน้า, ต่อไปยังเป้าที่ยิ่งใหญ่กว่า, ที่ๆ “ชุมทางแห่งชัยชนะ” คือ ความคิด, ช่างน่าปรารถนา, แต่ยังสุดเอื้อมอยู่.
Live a balanced life. Only by living life you contribute to it. Don’t estrange yourself from your surroundings. Learn from the mistakes others make, and from your own. Don’t be afraid or feel guilty if you try to find balance in your life. Enjoy a sustainable life, but without excess. The fight is long, at times arduous, but you are here, along with millions of others, for the long haul.
ดำรงชีวิตที่สมดุล.   ดำรงชีวิตอย่างที่คุณให้กับมันเท่านั้น.  จงอย่าทำตัวแปลกแยกจากสิ่งแวดล้อมของคุณเอง.  เรียนรู้จากความผิดพลาดที่คนอื่นกระทำ, และจากตัวคุณเอง.  อย่ากลัว หรือ รู้สึกผิด หากคุณพยายามหาความสมดุลในชีวิตของคุณ.  ใช้ชีวิตแบบยั่งยืน, แต่ไม่มากเกินไป.  หนทางต่อสู้ยังยาวไกล, หลายครั้งยากเข็ญ, แต่คุณก็ได้มาถึงที่นี่แล้ว, พร้อมกับคนอื่นๆ หลายล้าน, เพื่อช่วยกันฉุดลากยาวนาน.
They say people who live for a higher cause are happier than those who don’t. May you always find your happiness in alleviating the pain of others by standing up for what is right and honorable.
กล่าวกันว่า คนที่มีชีวิตอยู่เพื่อเหตุที่สูงส่งกว่า มีความสุขมากกว่าพวกที่ไม่เป็นเช่นนั้น.  ขอให้คุณพบความสุขเสมอในการบรรเทาความเจ็บปวดของผู้อื่น ด้วยการลุกขึ้นยืนต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้องและมีเกียรติ.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 License.
Ramzy Baroud
Ramzy Baroud (www.ramzybaroud.net) is an author and editor of PalestineChronicle.com. His work has been published in many newspapers, journals and anthologies around the world. His is the author of The Second Palestinian Intifada: A Chronicle of a People’s Struggle (Pluto Press, London). His latest book is My Father Was a Freedom Fighter: Gaza’s Untold Story (Pluto Press, London).
แรมซี บาราวด์ เป็นผู้เขียนและบรรณาธิการของ PalestineChronicle.com.  งานของเขาถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์, วารสาร และ หนังสือบทความรวบรวมต่างๆ มากมายทั่วโลก.  งานเขียนของเขา เช่น The Second Palestinian Intifada: A Chronicle of a People’s Struggle (Pluto Press, London).  หนังสือล่าสุดของเขา คือ “พ่อของผมเป็นนักสู้เพื่ออิสรภาพ: เรื่องราวที่ไม่ถูกบอกเล่าของกาซา” (Pluto Press, London).

Published on Friday, January 31, 2014 by Common Dreams


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น